บทพิจารณาอาหาร

ยะถาปัจจะยังปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง
สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น , กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ

ยะทิทังปิณฑะปาโต ตะทุปะภุณชะโก จะปุคคะโล
สิ่งเหล่านี้คือบิณฑบาต และคนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น

ธาตุมัตตะโก
เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ

นิสสัตโต
มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน

นิชชีโว
มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล

สุญโญ
ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน

สัพโพ ปะนายัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจฉะนิโย
ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม

อิมัง ปูติกายัง ปัต์วา
ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว

อะติวิยะ ชิคุจฉะนิโย ชายะติ
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน

ศึกษาธรรมะ กับธรรมชาติ


ศึกษาธรรมะ ศึกษากับธรรมชาติมันจริงๆ
มันก็ต้องรู้มาจากกฎของธรรมชาติมันจริงๆ
เพราะธรรมชาติมันสอนให้เราจริงๆ เป็นอย่างนั้น


ตาจึงเป็นหน้าที่ของมองให้เห็น
หูจึงเป็นหน้าที่ของฟัง
จมูกจึงเป็นหน้าที่ของดม
กายเราเป็นหน้าที่ที่สัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
ลิ้นนี่ กินอาหารเข้าไปเป็นหน้าที่ที่จะรู้รส
จิตใจของเราเรียกว่าธรรมารมณ์เกิดขึ้นกับใจ
คำว่าธรรมารมณ์เกิดขึ้น ก็คือ หมายถึง
จิตใจเราปรากฏ พลิกแพลง เราต้องเห็นต้องรู้


เมื่อเรารู้จักหน้าที่ของคน
เราต้องศึกษาความเป็นคน
เนี่ยะ…ความเป็นมนุษย์
เรื่องเทวดา เรื่องพระอินทร์ พระ-พรหม
แล้วก็ไม่ต้องศึกษาก็ได้ มันเป็นอย่างนั้น
แต่เมื่อศึกษาความเป็นมนุษย์ได้แล้ว
มันจะไหลไป เข้าไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคล
ไม่ว่ายุคนั้น ยุคนี้ ไปเหมือนเดิม


ดังนั้น การศึกษาธรรมะจึงไม่ยาก
ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ใดทั้งสิ้น
ขึ้นอยู่กับตัวคน อยู่ที่ไหนก็ทำได้…


หลวงพ่อเทียน (คัดจากแถบบันทึกเสียง รหัส ท.119ม.)