คำทำวัตร เช้า และ เย็น





คำบูชาพระรัตนตรัย


- อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ , ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง , ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ,

- พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ,
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า , ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน .
กราบ (แปลความหมาย)
- สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า , ตรัสไว้ดีแล้ว ,

- ธัมมัง นะมัสสามิ ,
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม .
กราบ(แปลความหมาย)
- สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า , ปฏิบัติดีแล้ว ,
- สังฆัง นะมามิ ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.
กราบ (แปลความหมาย)




นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต , ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ,
อะระหะโต , ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,
สัมมาสัมพุทธัสสะ , ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง .
( 3 ครั้ง )

ศึกษาธรรมะ กับธรรมชาติ


ศึกษาธรรมะ ศึกษากับธรรมชาติมันจริงๆ
มันก็ต้องรู้มาจากกฎของธรรมชาติมันจริงๆ
เพราะธรรมชาติมันสอนให้เราจริงๆ เป็นอย่างนั้น


ตาจึงเป็นหน้าที่ของมองให้เห็น
หูจึงเป็นหน้าที่ของฟัง
จมูกจึงเป็นหน้าที่ของดม
กายเราเป็นหน้าที่ที่สัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
ลิ้นนี่ กินอาหารเข้าไปเป็นหน้าที่ที่จะรู้รส
จิตใจของเราเรียกว่าธรรมารมณ์เกิดขึ้นกับใจ
คำว่าธรรมารมณ์เกิดขึ้น ก็คือ หมายถึง
จิตใจเราปรากฏ พลิกแพลง เราต้องเห็นต้องรู้


เมื่อเรารู้จักหน้าที่ของคน
เราต้องศึกษาความเป็นคน
เนี่ยะ…ความเป็นมนุษย์
เรื่องเทวดา เรื่องพระอินทร์ พระ-พรหม
แล้วก็ไม่ต้องศึกษาก็ได้ มันเป็นอย่างนั้น
แต่เมื่อศึกษาความเป็นมนุษย์ได้แล้ว
มันจะไหลไป เข้าไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคล
ไม่ว่ายุคนั้น ยุคนี้ ไปเหมือนเดิม


ดังนั้น การศึกษาธรรมะจึงไม่ยาก
ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ใดทั้งสิ้น
ขึ้นอยู่กับตัวคน อยู่ที่ไหนก็ทำได้…


หลวงพ่อเทียน (คัดจากแถบบันทึกเสียง รหัส ท.119ม.)